วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ตัวอย่างการออกแบบเทคโนโลยี

ตัวอย่างกระบวนการทางเทคโนโลยีการออกแบบโคมไฟประดิษฐ์
ขั้นที่ 1.  กำหนดปัญหาและความต้องการ
–                   ทำโคมไฟที่มีลักษณะ และรูปร่างแปลกใหม่ ไม่เหมือนใคร
–                   ทำโคมไฟที่สามารถทำได้ง่ายและสามารถทำได้ด้วยตนเอง
–                   วัสดุอุปกรณ์หาได้ทั่วไป
ขั้นที่ 2. รวบรวมข้อมูล แสวงหาวิธีการแก้ปัญหา
–                   ทำเป็นทรงกระบอก
–                   ทำเป็นทรงสี่เหลี่ยม
–                   ทำเป็นทรงกลม
–                   ทำเป็นทรงสามเหลี่ยม
–                   ทำเป็นทรงห้าเหลี่ยม
ขั้นที่ 3. เลือกวิธีแก้ปัญหา
–                   ทำโคมไฟทรงกระบอก
–                   ใช้กระดาษลูกฟูกทำ
ขั้นที่ 4. ออกแบบและปฏิบัติการ

ขั้นที่ 5. ทดสอบ
–                   โคมไฟที่ได้จะมีแสงน้อยมาก ไม่ค่อยสว่าง
ขั้นที่ 6. ปรับปรุงแก้ไข
–                   กรีดรูให้กว้างขึ้น และฉีดสีสเปรย์สีทองเพิ่ม
ขั้นที่ 7. ประเมินผล
ได้โคมไฟประดิษฐ์ที่สวยงาม ทำจากวัสดุที่หาได้ง่ายตามร้านค้า ตามรูปแบบที่ต้องการ


Cr. http://mathayom.brr.ac.th/~naruamol/Process.html






ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการออกแบบ 3มิติ


รูปแบบการแสดงข้อมูล 3 มิติ
           ในซอฟต์แวร์ CAD 3 มิติ มี 4 แบบ
           1. ข้อมูลแบบ Wireframe การแสดงผลแบบนี้มักจะพบในซอฟต์แวร์รุ่นเก่าๆ ซึ่งจะเก็บข้อมูลของแบบจำลองเฉพาะ เส้นขอบ(ทั้งเส้นตรงและเส้นโค้ง) และพิกัดของจุด การแสดงผลแบบนี้ทำได้รวดเร็ว แต่ภาพที่ได้จะดูค่อนข้างยาก ว่าแสดงผลอยู่ในมุมมองใด
           2. ข้อมูลแบบ Surface การแสดงผลแบบนี้จะคล้ายกับการนำผืนผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งถือเป็น 1 ผิวหน้า(face)มาเย็บต่อ ๆ กัน จะได้เป็นพื้นผิว(surface) บาง คล้ายเปลือกนอก การเก็บข้อมูลแบบนี้จะเก็บข้อมูล เส้นขอบ พิกัดของจุด และข้อมูลของขอบผิวที่ติดกัน
           3. Constructive solid geometry(CSG) ข้อมูลแบบจำลอง 3 มิติ แบบนี้จะถูกเก็บในลักษณะของ ลำดับของการนำรูปทรงตันพื้นฐาน(Solid Primitives) เช่น ก้อนลูกบาศก์, ลูกกลม, ทรงกระบอก, ลิ่ม, ปิรามิด ฯลฯ มาสร้างความสัมพันธ์กันด้วย Boolean Operator เช่น union(รวมกัน), subtract(ลบออก), intersection(เฉพาะส่วนที่ซ้อนทับกัน) และ difference(เฉพาะส่วนที่ไม่ทับกัน) เพื่อให้ได้รูปทรงที่ต้องการ รูปทรงที่ใช้วิธีนี้สร้างจะมีความถูกต้องสูง เนื่องจากใช้วิธีการทำ Boolean Operation เท่านั้นซึ่งเป็นวิธีที่ธรรมดาและโครงสร้างของข้อมูลก็ไม่ซับซ้อน
           4.Boundary representation(B-Rep) ข้อมูลแบบจำลอง 3 มิติแบบนี้ จะเก็บข้อมูลของพื้นผิวรอบนอกของทรงตันที่เชื่อมติดต่อกัน ซึ่งมีข้อมูลของ พื้นผิว(face), ขอบ(edge), จุดมุมของพื้นผิว(vertex) และความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งสาม
ข้อมูลแบบ B-rep แบ่งได้เป็น 3 ระดับ
           1. facetted เป็น Solid ที่ ถูกปิดล้อมด้วย Planar surface
           2. elementary เป็น Solid ที่ ถูกปิดล้อมด้วย planar, quadric, หรือ toroidal surface
           3. advanced เป็น Solid ที่ ถูกปิดล้อมด้วย planar, quadric, toroidal surface รวมถึง spline surface (สร้างจาก B-Spline, Bzier, NURBS )
ตัวอย่างรายชื่อซอฟต์แวร์ CAD ที่มีให้เลือกใช้ในวงการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
·                     วงการสถาปัตยกรรม AutoDesk Architectural Desktop, Microstation J, Arris ฯลฯ
·                     วงการโยธา AutoDesk Land Survey, MX ฯลฯ
·                     วงการก่อสร้างโรงงาน AutoPLANT Piping, Xsteel , CADWorx ฯลฯ
·                     วงการเครื่องจักรกล CATIA, I-Deas, Inventor, Pro/Engineer, SolidEdge, SolidWorks, Unigraphics ฯลฯ

·                     วงการอัญมณี JewelCAD ฯลฯ

Google Sketchup 8        
  ลักษณะการทำงานโดยรวมของโปรแกรม จะเป็นการสร้างรูปทรงจาก 2 มิติเป็น 3 มิติทีละชิ้น สามารถกำหนดลักษณะของพื้นผิววัสดุ จัดตำแหน่งของวัตถุ กำหนดลักษณะทิศทางของแสงหรือสีของท้องฟ้าได้ นอกจากนี้โปรแกรม Google Sketchup 8 ยังสามารถทำงานร่วมกับโปรแกรม 3 มิติอื่นๆ เช่น 3dsMax หรือ AutoCad ได้ และไฟล์ติดตั้งของโปรแกรมมีขนาดเล็กและใช้ทรัพยากรไม่มากนัก
ArchiCAD
ได้รับความนิยมจากสถาปนิกทั่วโลก ทั้งใน ยุโรป อเมริกา และ ออสเตรเลีย รวมถึงประเทศไทย ทั้งบริษัทออกแบบ, รับเหมาก่อสร้าง, ตกแต่งภายใน, บริษัทรับสร้างบ้าน รวมถึงหน่วยงานราชการสำคัญต่างๆ ครอบคลุมถึงส่วนสถาบันการศึกษา  ArchiCAD ได้เป็นหลักสูตรสำหรับการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท 
ที่มา:fourwall.igetweb.com

Cr. software.thaiware.com/download/โปรแกรมออกแบบ-3-มิติ

ซอฟแวร์ที่ใช้ในการออกแบบงาน2มิติ

             คอมพิวเตอร์กราฟฟิก คือ การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การทำ Image Retouching ภาพคนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผู้สื่อสาร ต้องการและน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยกราฟ แผนภูมิ แผนภาพ เป็นต้น
กราฟิกแบบ 2 มิติ (2 Dimension : 2D) เป็นภาพที่คุ้นเคยและพบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่างๆ ในโทรทัศน์

             ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วยสีแดง (Red) สีเขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สี มาผสมกันทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท คือ แบบ Raster และแบบ Vector
LibreCAD
มันถูกพัฒนามาจากโครงสร้างพื้นฐานของ QCad Comutinity edtion พอร์ตมาอยู่สภาพแวดล้อมใหม่ของ QT ด้วยความที่ใช้ QT เป็นเครื่องมือในการพัฒนา จึงทำให้ LibreCAD กลายเป็นโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ข้ามแพลทฟอร์มโอเอส (Linux, OSX, Windows) ปัจจุบัน LibreCAD ตัวโปรแกรมยังคงมีสถานะเบต้าเทส
QCad

เป็นโปรแกรมที่มี ประสิทธิภาพสูงและตอบสนองความต้องการทางด้านงานเขียนแบบได้อย่างครบครันทั้ง ด้านงานเขียนแบบ 2 มิติ (2D) และงานเขียนแบบ 3 มิติ (3D) แต่ทั้งนี้ การใช้งานโปรแกรมอย่างถูกต้องตามลิขสิทธิก็ต้องซื้อหาใบอนุญาต (License) มาใช้งานด้วยมูลค่าของซอฟท์แวร์ที่มีราคาสูง ซึ่งในปัจจุบัน Auto Cad เวอร์ชั่น 2009 ที่ซื้อหามาติดตั้ง

ที่มา:aessy.blogspot.com/2009/11/qcad.html


เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology)

เทคโนโลยีสะอาด(Clean Technology)


            คือ กลยุทธ์ที่ใช้ในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้วัตถุดิบ และพลังงานในการผลิต ทำให้สามารถลดต้นทุน โดยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดของเสียจากแหล่งกำเนิด อันจะช่วยลดภาระในการกำจัดของเสีย รวมถึงก่อให้เกิดการใช้พลังงาน ทรัพยากร และวัตถุดิบต้นทุนอย่างคุ้มค่า อันเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผู้ประกอบการ ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก อีกทั้งยังพัฒนาความสามารถ และประสิทธิภาพของธุรกิจ และเป็นจุดเริ่มต้นในการก้าวสู่มาตรฐาน ISO 14000 ของอุตสาหกรรมอีกด้วย



















ที่มา:http://www.environnet.in.th/2014/?p=8145

5W1H

การวิเคราะห์ปัญหา  

หลักวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ 5W1H
       การวิเคราะห์ปัญหา  โดยการใช้เทคนิค  5W1H  ในการคิดวิเคราะห์แบบแก้ปัญหา  จะใช้ในขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล และทดสอบสมมติฐาน  มีรายละเอียด  ดังนี้            

ปัญหาคืออะไร  หรือ อะไรคือปัญหา                        

Who            ใคร           (ในเรื่องนั้นมีใครบ้าง)
What           ทำอะไร     (แต่ละคนทำอะไรบ้าง)
Where         ที่ไหน       (เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นอยู่ที่ไหน)
When          เมื่อไหร่     (เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำเมื่อวัน เดือน ปี ใด)
Why             ทำไม        (เหตุใดจึงได้ทำสิ่งนั้น หรือเกิดเหตุการณ์นั้นๆ)
How             อย่างไร     (เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำเป็นอย่างไรบ้าง)




     แล้วรวมรวมข้อมูลทั้งหมดมาจัดระบบหรือเรียบเรียงให้ง่ายแก่การทำความเข้าใจซึ่งเป็นการค้นหาความจริงหรือความสำคัญ
เทคนิคการคิดวิเคราะห์

        การคิดวิเคราะห์ เป็นการคิดโดย ใช้สมองซีกซ้าย เป็นหลัก เป็นการคิดเชิงลึก คิดอย่างละเอียด จากเหตุไปสู่ผล ตลอดจนการเชื่อมโยงความสำพันธ์ในเชิงเหตุและผล
ประโยชน์ของการคิดวิเคราะห์

1. ช่วยให้เรารู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลเบื้องหลังของสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจความ
    เป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์ต่าง ๆ

2. เป็นฐานความรู้ในการนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหา

3. ช่วยให้เราหาเหตุผลที่สมเหตุสมผลให้กับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

4. ช่วยประมาณความน่าจะเป็น

ที่มา:http://writer.dek-d.com/yupparaj22/story/view.php?id=788595

การออกแบบ

การออกแบบ 
หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่น

สามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้  เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน

การออกแบบเทคโนโลยี
หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงานเพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกันโดยการประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ เช่น การนำทรายซึ่งเป็นสารประกอบของซิลิกอนที่มีราคาต่ำ มาสกัดเอาสารซิลิกอนให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์และไอซี ซึ่งไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้ทำชิพ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ ทำให้มีราคาสูงเทคโนโลยีจึงเป็นหนทางที่จะช่วยพัฒนาให้สินค้าและบริการต่าง ๆมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
ที่มา: https://arreelak.wordpress.com/

กระบวนการเทคโนโลยี

กระบวนการเทคโนโลยี
Jกระบวนการทำงานในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอย่างเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน
กระบวนการเทคโนโลยีมีกี่ขั้นตอน
ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
ขั้นตอนแรกของกระบวนการเทคโนโลยี คือ การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการหรือสถานการณ์เทคโนโลยีอย่างละเอียด เพื่อกำหนดกรอบของปัญหาหรือความต้องการให้ชัดเจนมากขึ้น

ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ศึกษาจากตำรา วารสาร บทความ สารานุกรม สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต ระดมสมองจากสมาชิกในกลุ่ม โดยควรมีการรวบรวมข้อมูลรอบด้านให้ครอบคลุมปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสรุปวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น

ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ
การเลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาและเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการมากที่สุด โดยใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกจากวิธีการที่สรุปได้ในขั้นรวบรวมข้อมูล ประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาคือ ข้อดี ข้อเสีย ความสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ ความประหยัด และการนำไปใช้ได้จริงของแต่ละวิธี เช่น ทำให้ดีขึ้น สะดวกสบายหรือรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ควรพิจารณาคัดเลือกวิธีการโดยใช้กรอบของปัญหาหรือความต้องการมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือก

ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ
การออกแบบและปฏิบัติการเป็นการถ่ายทอดความคิดหรือลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอน เกี่ยวกับวิธีการ แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยละเอียด โดยใช้การร่างภาพ 2 มิติ การร่างภาพ 3 มิติ การร่างภาพฉาย แบบจำลอง หรือแบบจำลองความคิด และวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน จากนั้นลงมือสร้างตามแนวทางที่ได้ถ่ายทอดความคิดและวางแผนการปฏิบัติงานไว้ ผลงานที่ได้อาจเป็นชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการ

ขั้นที่ 5 ทดสอบ
การทดสอบเป็นการตรวจสอบชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการที่สร้างขึ้นว่ามีความสอดคล้อง ตามแบบที่ได้ถ่ายทอดความคิดไว้หรือไม่ สามารถทำงานหรือใช้งานได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร หากผลการทดสอบพบว่า ชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการไม่สอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานไม่ได้ หรือมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข จะต้องมีการบันทึกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปสู่การปฏิบัติงานในขั้นปรับปรุงแก้ไขต่อไป

ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข
การปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นทดสอบว่าควรปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการในส่วนใด ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วจึงดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนั้น จนกระทั่งชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการสอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานได้ ในขั้นตอนนี้อาจจำเป็นต้องกลับไปที่ขั้นตอนออกแบบและปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อถ่ายทอดความคิดใหม่หรืออาจกลับไปขั้นตอนรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีการที่เหมาะสมอีกครั้งก็ได้ เพื่อให้ได้สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการที่เหมาะสมมากขึ้น

ขั้นที่ 7 ประเมินผล
การประเมินผล เป็นการนำชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้สร้างขึ้นไปดำเนินการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการ และประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าชิ้นงานหรือวิธีการนั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ หากผลการประเมินพบว่า ชิ้นงานหรือวิธีการไม่สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ ควรพิจารณาว่าจำเป็นต้องแก้ไขในขั้นตอนใด เพื่อนำไปปรับปรุงตามกระบวนการเทคโนโลยีอีกครั้ง เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น



ที่มา:http://designtechnology.ipst.ac.th/index.php/option=com_content&view=article&id=69&Itemid=108

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ
Jเทคโนโลยีเป็นวิชาที่ไม่อยู่ตามลำพังเพียงวิชาเดียว
ร่วมกับวิชาอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์เศรษฐศาสตร์
Jเทคโนโลยีต้องอาศัยองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ในการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ      เครื่องใช้ที่ใช้แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์
Jวิทยาศาสตร์ต้องอาศัยเครื่องมือที่สร้างจากเทคโนโลยีในการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีเกิดการใช้ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เทคโนโลยีก็เพื่อแก้ปัญหาทางเทคโนโลยี เทคโนโลยีใช้เพื่อเสริมการแก้ปัญหา นั่นก็คือ การนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปคู่การปฏิบัตินั่นเอง
2. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับมนุษย์ศาสตร์ การเรียนรู้การทำงานตามกระบวนการทางเทคโนโลยีต้องอาศัยทักษะทางภาษา ซึ่งเป็นศาสตร์หนึ่งของวิทยาศาสตร์
3.  ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับสังคมศาสตร์  เทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์เข้าใจประวัติความเป็นมาของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งช่วยกำหนดอนาคตและความเป็นอยู่ของมนุษย์
4.  ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับการศึกษา ในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษาอย่างกว้างขวาง มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้เกิดผลดีต่อการศึกษาอย่างมาก
5.  ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับเกษตรกรรมในปัจจุบันได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเกษตร ทั้งการผลิตคิดค้นเครื่องจักรกลทางการเกษตรและพัฒนากระบวนการผลิตแทนการเกษตรแบบดั้งเดิมที่ใช้กำลังคน
6. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับอุตสาหกรรมการผลิต การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ผลิตได้ปริมาณมากขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนการผลิต และลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน
7. ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ มีการใช้เทคโนโลยีมาปรับปรุงเส้นทางขนส่งเพื่อหาเส้นทางขนส่งที่ต้นทุนต่ำสุดทำให้การจัดส่งไม่ผิดพลาดเสียหายและทันเวลา เทคโนโลยีที่นำมาใช้ เช่น เทคโนโลยี GIS
ที่มา:https://kruneedesign.wordpress.com/2013/08/30


ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
  Jในยุคของสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้  จำเป็นที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรหมแดน  ช่วยอำนวยความสะดวก  และช่วยส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น    ในปัจจุบันเราจึงได้พบเห็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานต่าง ๆ จำนวนมาก
ที่มา:http://www.seekan.ac.th/it_com/lesson_03_1.html

ความหมายของเทคโนโลยี

ความหมายของเทคโนโลยี

J เทคโนโลยี  หมายถึง  การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น 
ที่มา:http://www.seekan.ac.th/it_com/lesson_03_1.html