วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ขั้นตอนการทำAnimation

ขั้นตอนในการทำแอนิเมชัน

การสร้างแอนิเมชันไม่ว่าจะเป็นประเภทใดสามารถแบ่งขั้นตอนการทำได้ ๓ ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ

๑. ขั้นตอนเตรียมการก่อนการทำ
๒. ขั้นตอนการทำ  
๓. ขั้นตอนหลังการทำ

๑. ขั้นตอนเตรียมการก่อนการทำ (Preproduction)

เป็นหัวใจสำคัญสำหรับการสร้างเนื้อหาของภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนั้นๆ ความสนุก ตื่นเต้น  และอารมณ์ของตัวละครทั้งหลาย จะถูกกำหนดในขั้นตอนนี้ทั้งหมด ดังนั้นในส่วนนี้จึงมีหลายขั้นตอนและค่อนข้างซับซ้อน หลายคนจึงมักกล่าวว่า หากเสร็จงานในขั้นตอนเตรียมการนี้แล้ว ก็เสมือนทำงานเสร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว ในขั้นตอนนี้จะแบ่งเป็น ๔ ขั้นตอนย่อยด้วยกัน  โดยเรียงตามลำดับดังนี้ คือ
การเตรียมการ เพื่อผลิตภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชัน มีขั้นตอนหลายขั้นตอน และค่อนข้างซับซ้อน
การเตรียมการ เพื่อผลิตภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชัน มีขั้นตอนหลายขั้นตอน และค่อนข้างซับซ้อน
๑. เขียนเรื่องหรือบท (story) เป็นสิ่งแรกเริ่มที่สำคัญที่สุดในการผลิตชิ้นงานแอนิเมชันและภาพยนตร์ทุกเรื่อง  แอนิเมชันจะสนุกหรือไม่ ล้วนขึ้นอยู่กับเรื่องหรือบท

๒. ออกแบบภาพ (visual design) หลังจากได้เรื่องหรือบทมาแล้ว ก็จะคิดเกี่ยวกับตัวละครว่า ควรมีลักษณะหน้าตาอย่างไร สูงเท่าใด ฉากควรจะมีลักษณะอย่างไร สีอะไร ในขั้นตอนนี้ อาจทำก่อน หรือทำควบคู่ไปกับบทภาพ (storyboard) ก็ได้

๓. ทำบทภาพ (storyboard) คือ การนำบทที่เขียนขึ้นนั้นมาทำการจำแนกมุมภาพต่างๆ โดยการร่างภาพลายเส้น ซึ่งแสดงถึงการดำเนินเรื่องพร้อมคำบรรยายอย่างคร่าวๆ ซึ่งผู้บุกเบิกอย่างจริงจังในการใช้บทภาพ คือ บริษัทเดอะวอลต์ ดิสนีย์ ได้ริเริ่มขึ้นราว พ.ศ. ๒๔๗๓ และได้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแม้แต่ภาพยนตร์ก็ต้องใช้วิธีการวาดบทภาพ ก่อนถ่ายทำด้วยเช่นกัน

๔. ร่างช่วงภาพ (animatic) คือ การนำบทภาพทั้งหมดมาตัดต่อร้อยเรียงพร้อมใส่เสียงพากย์ของตัวละครทั้งหมด (นี่คือ ข้อแตกต่างระหว่างภาพยนตร์แอนิเมชันและภาพยนตร์ทั่วไป เพราะภาพยนตร์แอนิเมชันจำเป็นต้องตัดต่อก่อนที่จะผลิต  เพื่อจะได้รู้เวลาและการเคลื่อนไหวในแต่ละช็อตภาพ (shot) อย่างแม่นยำ ส่วนภาพยนตร์ที่ใช้คนแสดงนั้น จะตัดต่อภายหลังการถ่ายทำ)

๒. ขั้นตอนการทำ (Production)

เป็นขั้นตอนที่ทำให้ภาพตัวละครต่างๆ มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะกำหนดว่า ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนั้น จะสวยงามมากหรือน้อยเพียงใด ประกอบด้วย
การวาดและลงสีการ์ตูนแอนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์
การวาดและลงสีการ์ตูนแอนิเมชัน
ด้วยคอมพิวเตอร์
๑. วางผัง (layout) คือ การกำหนดมุมภาพ และตำแหน่งของตัวละครอย่างละเอียด รวมทั้งวางแผนว่า ในแต่ละช็อตภาพนั้น ตัวละครจะต้องเคลื่อนไหว หรือแสดงสีหน้าอารมณ์อย่างไร ซึ่งหากทำภาพยนตร์แอนิเมชันกันเป็นทีม ก็จะต้องประชุมร่วมกันว่า แต่ละฉาก จะมีอะไรบ้าง เพื่อให้แบ่งงานกันได้อย่างถูกต้อง ซึ่งหลังจากเสร็จขั้นตอนนี้แล้ว จึงสามารถแบ่งงานให้แก่ทีมผู้ทำแอนิเมชัน และทีมฉาก แยกงานไปทำได้
๒. ทำให้เคลื่อนไหว (animate) คือ การทำให้ตัวละครเคลื่อนไหวตามบทในแต่ละฉากนั้นๆ ในขั้นตอนนี้สำคัญอย่างยิ่ง เปรียบเสมือนการกำกับนักแสดงว่า จะเล่นได้ดีหรือไม่ ซึ่งหากทำขั้นตอนนี้ได้ไม่ดีพอ ก็อาจทำให้ผู้ชมไม่รู้สึกมีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละครด้วย ส่วนแอนิเมชันแบบภาพแสดงมิติมีวิธีการทำ โดยวาดภาพลงบนแผ่นพลาสติกโปร่งใสในแต่ละฉากของเรื่อง และเมื่อแบ่งย่อยลงไปอาจประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ เช่น ตัวละคร ต้นไม้ แม่น้ำ ภูเขา ดวงอาทิตย์ ตัวละครแต่ละตัวหรือสิ่งของแต่ละชิ้นจะถูกนำไปวาดลงบนแผ่นใสแต่ละแผ่น เมื่อนำแผ่นใสแต่ละแผ่นมาวางซ้อนกัน แล้วถ่ายภาพด้วยกล้องถ่ายภาพที่ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ ก็จะได้ภาพการ์ตูน ๑ ภาพ ที่ประกอบไปด้วยตัวละครและฉาก ในการสร้างภาพการ์ตูนให้เคลื่อนไหว ผู้ทำแอนิเมชัน (animator) จะต้องกำหนดลงไปว่า ในแต่ละวินาที ตัวละครหรือสิ่งของในฉากหนึ่งๆ จะเปลี่ยนตำแหน่งหรืออิริยาบถไปอย่างไร ทั้งนี้ ผู้ทำแอนิเมชันจะต้องวาด หรือกำหนดอิริยาบถหลัก หรือคีย์ภาพ (key) ของแต่ละวินาที หลังจากนั้นผู้ทำแอนิเมชันคนอื่นๆ ก็จะวาดลำดับการเปลี่ยนแปลงอีกจำนวนหนึ่ง (ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ ๒๔ ภาพ) เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวจากคีย์ภาพหนึ่ง ไปสู่อีกคีย์ภาพหนึ่ง ภาพวาดจำนวนมหาศาลระหว่างแต่ละคีย์ภาพเรียกว่า ภาพช่วงกลาง (in-betweens) ในการวาดภาพการ์ตูน ผู้วาดภาพที่วาดคีย์ภาพต่างๆ เรียกว่า ผู้วาดภาพหลัก (key animator) ซึ่งต้องเป็นนักวาดภาพที่มีฝีมือ ส่วนผู้วาดภาพอีกจำนวนหนึ่งที่ทำหน้าที่วาดภาพระหว่างภาพหลักเรียกว่า ผู้วาดภาพช่วงกลาง (in-betweener) นอกจากผู้วาดภาพแล้ว ก็มีผู้ลงสี (painter) ซึ่งมีหน้าที่ลงสี หรือระบายสีภาพให้สวยงาม
การสร้างภาพยนตร์แอนิเมชันมีการใช้สีและแสงที่ให้อารมณ์ต่างกัน และมีฉากที่ช่วยเสริมอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชมมากยิ่งขึ้น
การสร้างภาพยนตร์แอนิเมชันมีการใช้สีและแสงที่ให้อารมณ์ต่างกัน
และมีฉากที่ช่วยเสริมอารมณ์ความรู้สึกของผู้ชมมากยิ่งขึ้น
๓. ฉากหลัง (background) ฝ่ายฉากเป็นฝ่ายที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าฝ่ายอื่นๆ เพราะฉากช่วยสื่ออารมณ์ได้เช่นเดียวกับตัวละคร เนื่องจากสีและแสงที่ต่างกันย่อมให้อารมณ์ที่ไม่เหมือนกัน และฉากยังช่วยเสริมอารมณ์ของผู้ชมได้มากขึ้น

๓. ขั้นตอนหลังการทำ (Postproduction)

เป็นขั้นตอนปิดท้าย ได้แก่

๑. การประกอบภาพรวม (compositing) คือ ขั้นตอนในการนำตัวละครและฉากหลังมารวมเป็นภาพเดียวกัน ซึ่งทั้งแอนิเมชันแบบภาพสองมิติและภาพสามมิติ ต่างต้องใช้กระบวนการนี้ทั้งสิ้น ในกระบวนการนี้ มีการปรับแสงและสีของภาพ ให้มีความกลมกลืนกัน ไม่ให้สีแตกต่างกัน
การนำตัวละครและฉากหลังมารวมเป็นภาพเดียวกัน เป็นกระบวนการที่จำเป็น สำหรับการทำแอนิเมชันแบบสองมิติ และแบบสามมิติ

๒. ดนตรีและเสียงประกอบ (music and sound effects) หมายถึง การเลือกเสียงดนตรีประกอบ ให้เข้ากับการดำเนินเรื่อง และฉากต่างๆ ของการ์ตูน รวมทั้งเสียงประกอบสังเคราะห์ด้วย ซึ่งวิศวกรเสียงสามารถสร้างเสียงประกอบ ให้สอดคล้องกับการดำเนินเรื่องได้ โดยดูจากเค้าโครงเรื่อง ดังนั้นเค้าโครงเรื่องถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ในอดีต การสร้างเสียงประกอบสามารถทำได้ โดยการบันทึกเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงจริงที่ให้เสียงได้ใกล้เคียง เช่น เสียงเคาะกะลาอาจใช้แทนเสียงม้าวิ่ง เสียงเคาะช้อนและส้อมอาจใช้แทนเสียงการฟันดาบ ในปัจจุบัน ได้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสังเคราะห์เสียงให้ได้เหมือนจริง หรือเกินกว่าความเป็นจริง เช่น เสียงคลื่น เสียงพายุ เสียงระเบิด ซึ่งวิศวกรเสียงได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก ทั้งนี้ การ์ตูนภาพเดียวกันแต่เสียงประกอบต่างกัน เสียงประกอบที่ดีกว่า และเหมาะสมกว่า จะช่วยเพิ่มอารมณ์ความรู้สึก ในการชมภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชันมากขึ้น
  http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=36&chap=7&page=t36-7-infodetail04.html

เทคนิคการเขียนบทละคร


การสร้างบทละครนั้นเป็นความสามารถที่ต้องอาศัยทักษะและความคิดสร้างสรรค์ค่อนข้างมาก แต่บุคคลหลายคนก็สามารถจะเขียนบทละครได้ แม้แต่ตัวผู้เรียนเอง หรือศิลปินในท้องถิ่นก็สามารถสร้างบทละครที่มีคุณภาพโดยสะท้อนความคิด ศิลปะ และวิถีชีวิตของท้องถิ่นได้เช่นกัน ละครจึงเป็นกิจกรรมที่ไม่มีกฎเกณฑ์เฉพาะตายตัว อาทิ ดนตรีประกอบการแสดง อาจเป็นดนตรีพื้นบ้านเพียงชิ้นเดียว เช่น ขลุ่ย แคน หรือเพลงที่ผู้เขียนชอบนำมาประกอบการเล่าเรื่องก็ได้ ละครจึงเปิดโอกาสให้ผู้คนได้ทำงานร่วมกัน สามารถทดลองค้นคว้าหาเรื่องราวที่น่าสนใจมานำเสนอต่อผู้ชมอยู่ใหม่ ๆ ได้เสมอ
เทคนิคการเขียนบทละคร ในที่นี้หมายถึง การเขียนบทละครให้มีปัจจัยต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในการแสดงได้ ปัจจัยในการเขียนที่สำคัญ 3 ประการ คือ
    1. การแบ่งขั้นตอนของโครงเรื่องออกให้ชัดเจนว่า เรื่องดำเนินจากจุดเริ่มต้นแล้วเข้มข้นขึ้น และคลี่คลายไปสู่จุดจบอย่างไร
          1.1 การเริ่มเรื่อง เป็นการแนะนำผู้ดูให้เข้าใจความเดิมและตัวละครสำคัญในเรื่อง
          1.2 การขยายเรื่อง เป็นการดำเนินเรื่องให้เห็นปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น แสดงพฤติกรรมของตัวละครต่างๆ ตามที่กำหนดไว้
          1.3 การพัฒนาเรื่อง เป็นการแสดงความขัดแย้งขอตัวละครในเรื่อง ทำให้การแสดงเกิดความเข้มข้นขึ้น
          1.4 เป็นการที่ที่พระเอกตกอยู่ในสถานะการณ์ที่ล่อแหลม ถึงขั้นต้องมีการตัดสินใจกระทำบางการบางประการให้เด็ดขาดลงไป
          1.5 การสรุปเรื่อง หรือการดำเนินเรื่องไปสู่จุดจบบริบูรณ์
     2. การแบ่งเรื่องออกเป็นกลุ่มย่อยๆ เพื่อสถานะการณ์ต่างๆ ในแต่ละตอนเป็นไปตามวัตถุประสงค์โดยแบ่งได้ 6 ประการคือ
          2.1 แสดงความปรารถนาของตัวละคร
          2.2 รักษาความต่อเนื่องของเนื้อเรื่องโดยไม่ทำลายวัตถุประสงค์หลักของเรื่อง
          2.3 ทำให้การดำเนินเรื่องแต่ละตอนประทับใจ
          2.4 สอนเงื่อนงำไว้ในกาละเทศะที่สมควร
          2.5 บรรจุปัจจัยที่ทำให้เกิดความประหลาดใจ
          2.6 เปิดเผยสิ่งต่างๆที่ควรเปิดเผยในกาละเทศะที่สมควร
     3. ลักษณะ คือ กลวิธีในการนำฉันทลักษณ์ต่างๆ มาใช้ในการแสดงออกของสถานะการณ์และความคิดของลักษณะมี 36 วิธี ซึ่งพอจะสรุปได้ว่าสำนวนที่จะนำมาประพันธ์เป็นบทบรรยายและบทเจรจา ต้องคำนึงถึง
          3.1 พื้นเพของตัวละคร
          3.2 ความรู้สึกที่ต้องการให้เกิดกับคนดู
          3.3 ความแจ่มแจ้งของสาระในเรื่องที่ต้องการถ่ายทอดให้คนดูเข้าใจ
          3.4 ความสัมพันธ์กับลักษณะของคนตรีและทำนองเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
การเขียนบทละคร อาจเขียนจบฉากเดียวหรือหลายฉากก็ได้ เรียกตอนหนึ่งๆว่าองก์ ก็ได้
ฉาก   บอกให้ทราบสถานที่ชัดเจน เช่น ในป่าลึก หาดทราย ในบ้าน หรือในห้อง บอกเวลาในขณะนั้นด้วย
ตัวละคร  บอกเพศ ชื่อและชื่อสกุล อายุรูปร่างลักษณะ
การบรรยายนำเรื่องเพื่อสร้างบรรยากาศ   ในกรณีเป็นเรื่องยาวควรมีอย่างยิ่ง แต่ถ้าเป็นเรื่องสั้นอาจไม่จำเป็น
บทสนทนา   มีความสำคัญมาก เพราะการดำเนินเรื่องอยู่ที่การสนทนาของตัวละครใช้ภาษาพูดให้เหมือนชีวิตจริงๆ ควรเป็นประโยคสั้นๆเข้าใจง่าย อาจแทรกอารมณ์ขันลวไป จะทำให้เรื่องออกรสยิ่งขึ้น
ตอนจบ   ต้องจบอย่างมีเหตุผล จบอย่างมีความสุข หรือเศร้า หรือจบลงเฉยๆด้วยการทิ้งท้ายคำพูดให้ผู้ชมคิดเอง อาจเป็นถ้อยคำประทับใจเหมือนละลอกคลื่นที่ยังคงพริ้วกระทบฝั่ง หลังจากได้ทิ้งก้อนหินลงไปเมื่อครู่ใหญ่ๆ                                                    
การขึ้นต้นและการจบเรื่อง เป็นลีลาและศิลปะของผู้เขียนโดยเฉพาะที่จะทำให้ผู้ชมพอใจ แต่เมื่อจบแล้วต้องให้เข้าใจเรื่องโดยตลอด
ที่มา https://aofzaa.wordpress.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3/


เขียนพล็อตรักอย่างไรให้ประทับใจ


ร่างภาพคร่าว ๆ เกี่ยวกับพื้นฐานของเรื่องโดยทั่วไป
๑. จะให้เรื่องเกิดขึ้นที่ไหน
๒. จะเอาใครมาอยู่ในเรื่องบ้าง
๓. ตัวละครเหล่านั้นต้องการอะไร
๔. อะไรที่จะมาเป็นความขัดแย้ง ขัดขวางความต้องการของเขา
๕. พวกเขามีแผนที่จะจัดการกับสิ่งนั้นอย่างไร ?
๖. อะไรจะมาเป็น จุดหลัก หรือเป็นเบ็ดเกี่ยว เป็นคำถามที่จะให้คนอ่าน
เกิดความสนใจ จนอยากรู้คำตอบให้เขาต้องการติดตามอ่านตลอดทั้งเรื่อง เช่น ตัวละครจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ? ปัญหาจะถูกแก้ไขด้วยวิธีใด ?
๗. เรื่องราวความหลังอะไรบ้างที่คุณจะแต่งเติมเรื่องของคุณ
๘. คุณต้องการให้มีเหตุการณ์อะไรบ้างเข้ามาอยู่ในเรื่อง และจะสร้างมัน
ขึ้นมาได้อย่างไร
๙. อะไรคือ theme ที่คุณจะเขียนเกี่ยวกับมัน
๑๐. ฯลฯ
 
๒. สร้างตัวละครที่ทำให้คนอ่านสนใจ อยากรู้เรื่องของเขา
จะเขียนพล็อตรักให้เป็นที่ประทับใจ คุณต้องสร้างตัวละครที่มีชีวิตขึ้นมาให้ได้
( อ่านการสร้างตัวละครเบื้องต้น ที่นี่ )และในการเขียนพล็อตรักสิ่งที่คุณต้องเน้นเพิ่มเข้าไปในการสร้างบุคคลิกลักษณะ ของตัวละครก็คือ
ทัศนะความรักของตัวละคร เขาคิดอย่างไร ?
เขาอาจจะ ไม่ศรัทธราในความรัก ไม่อยากให้ใครมารัก ต้องการความรักอย่าง
มาก ความรักคือความหลอก ลวง ความรักต้องซื่อสัตย์จริงใจ ( หากคิดไม่ออก
ก็ให้ไปหา อ่านทัศนะเกี่ยว กับความรัก หรือพวกคำคมเกี่ยวกับความรักก็ได้
หรือจะ ไปอ่านเล่น ๆ ที่นี่ ก่อนก็ได้ )
ทัศนะนี้มันมีผลต่อการ แสดงออกของเขาต่อตัวละครอื่นอย่างไร?
มันทำให้เขาหรือเธอก้าวร้าวต่อคนที่รัก มันทำให้เขาหรือเธอช่างหวาดระแวง มันทำให้เขาหรือเจียมตัวไม่มั่นใจ ฯลฯ
เขาหรือเธอมีอารมณ์รัก ที่แฝงไปด้วยอะไร ?
บางครั้งความรัก มันไม่ใช่อารมณ์ที่อยู่ตามลำพัง มันอาจจะแอบแฝงไปด้วยความรู้สึกอื่นที่แทรกซ้อนกันอยู่ อาจจะเป็นอารมณ์ที่
คล้อยตามกัน ทั้งรักทั้งหวงแหน ทั้งรักทั้งชื่นชม อารมณ์ที่ขัดแย้งกัน ทั้งรักทั้ง
แค้น ทั้งรักทั้งเกลียด อารมณ์ความรู้สึกของตัวละครเป็นอย่างไร ให้พยายามหาเหตุการณ์มาแสดงออกสนับสนุนให้คนอ่านให้มองเห็นความสับสน
ภายในจิตใจเขา จะทำให้ตัวละครน่าสนใจมากขึ้น

 
๓. ความขัดแย้ง อันเป็นปัญหาและอุปสรรคที่ต้องถูกทดสอบ
ความสำคัญของการเลือกปัญหาอุปสรรคให้กับตัวละคร เป็นสิ่งที่สำคัญ จงเลือกให้มันเหมาะและสมเหตุสมผล เพราะการเลือกอันนี้ มันจะส่งผลไป
ถึง วิธีการแก้ปัญหา และ เป็นการคัดเลือกตัวละครให้มาอยู่ในเรื่องด้วย
- เตรียมสิ่งจะมาอุปสรรคของพวกเขาอาจเป็นได้ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นจากภาย
ใน ตัวละคร เอง เช่นความคิด ทัศนะคติ อุปนิสัยของตัวละคร ฯลฯ หรือสิ่ง
ที่เกิด ขึ้น จากภายนอก เช่น มือที่สาม ความแตกต่างทางสังคม เหตุการณ์ที่สร้างความเข้าใจผิด การแข่งขัน ฯลฯ
- ในความพยายามแก้ปัญหาของพวกเขา ให้ลองใช้กฎ rule of three ( ใช้ได้กับทุกเรื่อง ) คือ ความพยายามสองครั้งแรกล้มเหลว ( อาจจะยิ่งทำให้แย่เข้าไปใหญ่) ความสำเร็จให้อยู่ในครั้งที่สาม
- เลือกตัวละครเข้ามาในเรื่องให้เหมาะกับปัญหา เช่น ปัญหาคือความแตกต่างทางฐานะ ตัวละครที่เข้ามามีส่วนสำคัญต่อตัวละครเอก อาจจะเป็นพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ ถ้าปัญหาคือการแข่งขันเรื่องการทำงาน ตัวละครแวดล้อมก็น่าจะเป็นเพื่อน หรือเจ้านาย หรือทีมงาน
- ให้คัดเลือกเอาตัวละครที่จะมาเป็นตัวอุปสรรค และเป็นตัวคอยสนับสนุน ความรักของพระเอกนางเอกด้วย
 

๔. สร้างฉากเหตุการณ์ ( scenes )
เตรียมเอาไว้เลยนะว่า คุณจะให้เหตุการณ์ ใด หรือ ฉาก ใด เป็นช็อตเด็ดใน
เรื่อง ที่คนอ่านไม่เบื่อที่จะเปิดอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่า เช่น
- ฉากแสดงออกถึงความรู้สึกอันลึกซึ้งของตัวละครที่มีต่อกัน ห่วงใยกัน แคร์ซึ่งกันและกัน
- ฉากที่ทำให้พวกเขาแตกแยกกัน เข้าใจผิดซึ่งกันและกัน
- ฉากที่แสดงความปวดร้าว ความขมขื่น
- ฉากที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามดิ้นรนไปให้พ้นจากปัญหาที่เกิดขึ้น
- ฯลฯ

 

๕. โครงสร้างของพล็อตรักโดยทั่วไป
ไม่ว่าพล็อตเรื่องของคุณจะเป็นเรื่องราวความรักแบบไหนมันจะแบ่งเป็นสามส่วน
หลัก ๆ คือ
๑. ตัวละครพบกันรักกัน ( หรือเริ่มจะรักกัน )
๒. ตัวละครต้องพลัดพรากจากกัน ( ห่างกันทางกายด้วยอุปสรรคอย่างใด
อย่างหนึ่ง หรือ ทางจิตใจเช่นเข้าใจผิดกันอย่างยิ่งใหญ่จนเกิด เป็นรอย ร้าวไม่เข้าใจกัน )
๓. ตัวละครกลับมาหากัน ( การเดินทางกลับมาหากัน การค้นพบความจริง มีความเข้าใจกัน การเริ่มต้นใหม่ ฯลฯ ซึงก็แล้วแต่คนเขียนนะว่า เมื่อถึงจุดนี้แล้ว จะจบโดยให้พวกเขาอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข หรือตายจากกันไม่ก็แยก ทางกัน ด้วยความรักความเข้าใจและอาลัยอย่างสุดซึ้ง จนน้ำตาไหลพราก )
แม้ว่าโครงสร้างโดยมากจะเป็นแบบนี้ มันก็ไม่จำเป็นว่า

คุณจะเริ่มเรื่อง ด้วยหมายเลขหนึ่งนะ
ที่มา:www.forwriter.com/mysite/forwriter.com/forwriterroom/.../writeloveplot.htm

การวาดรูปในโปรแกรมFlash


    


  การวาดรูปแบบเทคนิคการลอกลายในโปรแกรม Flash
         สิ่งที่หนักอกหนักใจของคนที่สร้างงานจากโปรแกรมแฟลช ก็คือวาดรูปอย่างไรให้เหมือน หรือวาดเส้นให้ได้ดั่งใจ วันนี้ผมมีเทคนิคดีๆ มานำเสนอ ซึ่งหลักการวาดรูปแบบนี้ ทำให้เราง่ายในการวาดรูปในโปรแกรมแฟลช

1. อันดับแรกเลยก็คือ วาดรูปลงในกระดาษเสียก่อน แล้วนำรูปนั้นมาสแกนเข้ามาเป็นไฟล์ในคอมพิวเตอร์ หรือแบบที่สอง ก็คือไปหาดาวน์โหลดรูปภาพที่เราชอบในอินเตอร์เน็ต แต่อันหลังนี้ต้องระมัดระวังในเรื่องลิขสิทธิ์ด้วยนะครับ จากนั้นเปิดโปรแกรมแฟลช และนำเข้ารูปภาพ ตามรูป

2. เปิดหาไฟล์ภาพของเรา           


                               

3. นำภาพจาก Library เข้ามาวางที่ Stage


                      

4. ล็อคเลเยอร์ไว้ และทำการเพิ่มเลเยอร์ใหม่ขึ้นมา ดังภาพ
5. ใช้เครื่องมือ Zoom Tool ในการขยายภาพใหญ่ขึ้น เพื่อง่ายต่อการวาดภาพ
6. ใช้เครื่องมือ Line Tool เลือกสีตามต้องการ เพื่อใช้ในการวาดเส้นตรง
7. ทำการวาดเส้นตรงสั้นๆ ติดต่อกันไปเรื่อยๆ ดังภาพ
8. ใช้ Selection Tool ดัดเส้นโค้งไปเรื่อยๆ ตามรอยโค้งของภาพต้นฉบับ ทดลองปิดตาเลเยอร์ด้านล่าง เพื่อดูรอยเส้นที่เราวาด
9. ทำการลงสีตามต้องการ หรือตามแบบเดียวกันกับภาพต้นฉบับ

 ที่มา:http://www.apivat.com/joomla/index.php/component/content/article/1-flash/15--flash

เทคนิคการเลือกใช้สี

สี อาจจะเป็นปัญหาของใครหลายคนอย่างแน่นอน จะเลือกสีไหนดี สีแบบไหนสวย สีนี้ดีใหม สีนั้นดีใหม เป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับตัวคุณและเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับลูกค้าของคุณ วันนี้เราจะมาแนะนำเทคนิคที่ทำให้เรื่องสีเป็นเรื่องง่ายขึ้นสำหรับคุณ
1. Capture inspiration
แค่คุณเลือกภาพที่ต้องการมาสักหนึ่งภาพ เป็นภาพที่มีโทนสีและคู่สีตามที่คุณต้องการ ก็นำมันมาดูดค่าสีจากโปรแกรมต่างๆ ซึ่งวันนี้เรามาแนะนำ photocopa ซึ่งเป็น webapp ที่ใช้งานง่ายตัวหนึ่ง เพียงเท่านี้คุณจะได้ค่าสีตามที่คุณต้องการ เพื่อนำไปเป็น colour guide สำหรับงานออกแบบของคุณแล้ว

Screen Shot 2558-06-17 at 2.50.27 PM
2. ใช้ color wheel

colour-for-design-2 
color wheel คือทฤษฎีสีที่เราควรจะเรียนรู้เอาไว้บ้าง ซึ่งสีจะประกอบไปด้วย 3 ขั้นคือ
ขั้นที่ 1 (Primary) –  แม่สี ได้แก่ สีแดง   สีเหลือง  สีน้ำเงิน
ขั้นที่ 2 (Secondary) – สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้ เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่ สีส้ม สีม่วง สีเขียว
ขั้นที่ 3 (Tertiary) – สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอีก 6  สี คือ สีส้มแดง สีม่วงแดง สีเขียวเหลือง สีเขียวน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน สีส้มเหลือง
ต่อมาจะเป็น Color Theory ซึ่งจะประกอบไปด้วย
Analogous Colors – คือการเลือกใช้สีที่อยู่ติดกันใน Color Wheel เช่นสีน้ำเงินกับสีม่วง
Complementary Colors – การเลือกใช้สีที่อยู่ตรงข้ามกันใน Color Wheel เช่นสีส้มกับสีน้ำเงิน
Triadic Colors – การเลือกสีโดยใช้สามเหลี่ยมด้านเท่ามาทาบลงบน Color Wheel จะได้สีทั้งหมด 3 สี เช่น สีเขียว สีส้มและสีม่วง



3. ออกแบบโดยมีพื้นที่ว่าง
เทคนิคการออกแบบโดยมีพื้นที่ว่าง ใช้สัดส่วน  60% เป็นสีที่โดดเด่น 30% เป็นสีรอง 10% เป็นสีที่ถูกเน้น อย่างในตัวอย่างสีเด่นคือสีดำ สีรองคือเขียว และสีที่เน้นคือแดงนั่นเอง
 colour-for-design-3
4. บันทึกสีที่ชอบ
ในแต่ละวันคุณคงได้พบเจอกับงานต่างๆ มากมาย ลอง save as ภาพที่คุณชอบเก็บเอาไว้ใช้งานในภายหลัง จะทำให้การทำงานเป็นเรื่องง่ายขึ้น หากคุณมีสีที่ชอบเอาไว้เป็น colour guide
 colour-for-design-4

5. หา Pantone ไว้ใช้งานสักชุด
สังเกตุใหมว่าทำไม Designer บางคนต้องมี Pantone ติดตัวไว้ใช้งาน เพราะบางทีมองสีจากหน้าจอ มันอาจจะไม่ชัดเจนเท่ามองจาก Pantone ยังไงละ โดยเฉพาะงานพิมพ์ ที่ต้องใช้ความแม่นยำสูง ซึ่ง Pantone จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้คุณได้ค่าสีที่แม่นยำออกมา

 colour-for-design-5

6. หาสีจากธรรมชาติรอบตัวเรา
บางครั้งสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจได้มากก็คือดวงตาของเรา ธรรมชาติคือการผสมสีที่ไม่มีที่สิ้นสุด ในแต่ละวันคุณคงพบเจอสีในธรรมชาติมากมายจนนับไม่ถ้วน และในแต่ละสถานที่คุณก็จะได้พบเจอสีที่ไม่เหมือนกันเลย
 colour-for-design-6

7. เลือกใช้สีแค่ 2 – 3 สี
สีที่เยอะเกินไป อาจจะทำให้งานของคุณดูแย่ลงก็เป็นได้ วิธีที่คนส่วนมากแนะนำกันคือ เลือกใช้สีสัก 2 – 3 สีในงานออกแบบนั้นๆ ซึ่งวิธีเลือกสีลองใช้ color wheel เลือกดูได้เลย รับรองว่างานของคุณจะออกมาดูสะอาด สำหรับพื้นที่ว่างลองเพิ่ม  textures ลองไปสักนิด จะได้ออกมาไม่เรียบจนเกินไป
colour-for-design-7

8. เลือกสีหลัก แล้วหาสีที่เข้าคู่
colour-for-design-8
ลองเลือกคิดว่างานที่คุณกำลังออกแบบเป็นงานอะไร เป็นกีฬา, แฟชั่น, ความงาม, หรือธุรกิจ เพราะอารมณ์ของแต่ละงานก็เลือกใช้สีที่ไม่เหมือนกัน อยากจะให้อารมณ์งานออกมาอ่อนนุ่มหรือรุนแรง แล้วลองใส่รายละเอียดเอาไปอีกนิดเช่น ฉันต้องการความโรแมนติกสีม่วง หรือ ฉันต้องการสีชมพูน่ารักๆ

9. Pinterest
colour-for-design-9Pinterest คือแหล่งรวบรวมงานออกแบบมากมาย ลองเข้าไปค้นหาสีที่คุณต้องการ ซึ่งมีให้เลือกมากมาย ดูทั้งวันก็ไม่หมดอย่างแน่นอน Pinterest

เรียบเรียงโดย grappik
รูปภาพ www.canva.com
ข้อมูล manit-tree.blogspot
ที่มา:http://grappik.com/how-to-use-color-color-wheel/


Drawing

ก่อนจะวาดรูปใดๆให้ได้ดั่งใจปรารถนานั้นควรฝึกพื้นฐานเหล่านี้ก่อนแล้วค่อยวาด ฝึกให้ชำนาญจนสามารถควบคุมมือให้ลากเส้นได้ ลากจนเส้นตรงให้ตรง เฉียงให้เฉียง กลมก็ต้องให้กลมจริงๆ ก่อนที่จะวาดภาพต่อไป
ถ้าไม่ฝึกพื้นฐานแบบนี้ก่อน อาจทำให้เราหงุดหงิด หงุนหง่าน จนงอแง เมื่อเราไม่สามารถบังคับเส้น หรือกล้ามเนื้อมือให้ได้ดั่งใจได้ปรารถนา
เวลาจะลากเส้นตรงดันเบี้ยวเป็นรูปหนอนหนีตายจะหมุนให้กลมเหมือนแสกปั้น กลายเป็นรูปก้อนดินเหนียวร่วงพื้นบิดไปมา หรือการพึ่งพาแต่การดราฟจนทำให้ไม่สามารถออกไปสเก็ตภาพที่ไหนได้จะวาดภาพ land scape, sea scape, potrait ที เกร็งจนข้อมือติดขัดเหมือนคอมพิวเตอร์โดนไวรัสร่างกายคล้ายๆถูกสะกดให้นิ่ง อยู่กับที่เหมือนผีจีนที่โดนยันต์แปะหน้าผากให้ยืนสงบอยู่ตรงหน้ากระดาษหรือ ผืนผ้าใบโดยไม่กล้าทำอะไร
ในที่สุดเราก็จะเลือกล้มความตั้งใจไปโดยอัตโนมัติ กลายเป็นโดนยึดความมั่นใจไปเหมือนกับการโดนเครื่องกดเงินยึดบัตร เพราะขาดความอดทนกับเราที่ไม่ยอมจำรหัสให้ดี
อุปกรณ์ง่ายๆ ไม่กี่อย่างที่ต้องเตรียม 
สำหรับการฝึกมือเพื่อเตรียมตัวสร้างผลงานช็อคโลกในอนาคต
1. ดินสอ EE+คัดเตอร์
2. กระดาษบรูฟ+กระดานสเกต
3. ยางลบ ที่พกมาไว้เพื่อความมั่นใจเหมือนกับการสวมพระไว้กันผี
4. ใจ แบบไม่ต้องเอาปอดมาด้วย

                เมื่อเตรียมของเสร็จ ก่อนที่ท่านจะจับดินสอเพื่อเริ่มภาระกิจการวาดภาพเพื่อยกระดับจิตวิญญาณของมวลมนุษย์แล้ว
ควรบริหารมือก่อน เหมือนเป็นการอุ่นเครื่องหรือการหยอดน้ำมันให้ลื่นไหล ทั้งกายและใจ



สลัดๆๆๆ พัดโบกมือไปมา โบกให้พริ้วไหวประดุจใบไม้ที่ปลิวไปตามลม
เสมือนจอมยุทธน้อยที่กำลังจะตะลุยโลดแล่นออกสู่โลกกว้าง ด้วยการบิดขี้เกียจให้เต็มที่ หมุนที่ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อแขน หัวไหล่ บริเวณเอวตรงกล้ามเนื้อใหญ่ที่หลายๆท่านใช้ในการหมุนเพื่อกำหนดวงสวิงเวลาเล่นกอล์ฟ

มาถึงการจับดินสอ


             มีการจับอยู่หลากหลายตามความถนัดแต่ที่อยากแนะนำให้ลองฝึกเพื่อความคล่องตัวและสะดวกในการใช้งาน คงมีอยู่ 4 อย่างด้วยกัน
1. จับแบบเขียนหนังสือ 
   - ใช้สำหรับการเก็บรายละเอียดของงานในพื้นที่เล็ก แคบ
   - วิธีการจับแบบนี้จะใช้ข้อนิ้วในการควบคุมดินสอ เหมือนการเขียนตัวอักษร
   - เป็นการใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบ หากใช้พื้นที่กว้างขึ้นก็เริ่มใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง 
2. จับจับแบบหลวม ใช้สำหรับร่างภาพ ต้องการสะบัดข้อมือแบบสบายๆ
3. จับแบบใช้ทุกนิ้วสัมผัส เพื่อประคองดินสอให้เป็นแนวเส้นตรงสำหรับการลากเส้นแนวดิ่ง ขวาง หรือเฉียง
4. จับแบบคว่ำมือ ใช้สำหรับการกำหนดเส้นร่างแบบคร่าวๆ และให้เบาบางที่สุด

ได้โปรด กรุณาอย่าใช้นิ้วใดนิ้วประหนึ่งล๊อกดินสอ
พยายามจับให้ดินสอเป็นอิสระมากที่สุดโดยนิ้วแค่เป็นตัว ประคองดินสอไว้ให้เหมือนกับว่าดินสอนั้นเป็นส่วนหนึ่งในมือของเราที่จะ บังคับให้ปลายดินสอนั้นไปทางไหนก็ได้ตามใจปรารถนาเหมือนกับเวลาใช้นิ้วก้อย แคะขี้มูก


อีกนิดครับสำหรับการเหลาดินสอ EE อยากให้ใช้คัดเตอร์เหลาให้ไส้ดินสอออกมายาวๆหน่อย เพื่อความสะดวกกับองศาของเนื้อไม้กับไส้ดินสอเวลาวาด และที่สำคัญ อย่าทำหล่นเด็ดขาด เพราะนั้นหมายถึงไส้ดินสอจะหักข้างใน เพราะไส้เปราะมาก

ตอนนี้จะแนะนำจุดศูนย์กลางของแต่ละส่วนในการหมุนตวัดปลายดินสอให้ฉวัดเฉวียน แต่ไม่เวียนหัวถ้าทำได้

การใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบสำหรับเก็บรายละเอียด
การใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงแคบ
การใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงกว้าง
การใช้ไหล่เป็นศูนย์กลางเพื่อร่างภาพในวงกว้างมากขึ้น
กระดูกสันหลังส่วนเอว ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อใหญ่ ในการวาดภาพใหญ่ๆ อย่างวาดบนกำแพง เฟรมใหญ่ๆเป็นต้น

อีกนิดครับสำหรับการเหลาดินสอ EE อยากให้ใช้คัดเตอร์เหลาให้ไส้ดินสอออกมายาวๆหน่อย เพื่อความสะดวกกับองศาของเนื้อไม้กับไส้ดินสอเวลาวาด และที่สำคัญ อย่าทำหล่นเด็ดขาด เพราะนั้นหมายถึงไส้ดินสอจะหักข้างใน เพราะไส้เปราะมาก

ตอนนี้จะแนะนำจุดศูนย์กลางของแต่ละส่วนในการหมุนตวัดปลายดินสอให้ฉวัดเฉวียน แต่ไม่เวียนหัวถ้าทำได้

การใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบสำหรับเก็บรายละเอียด
การใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงแคบ
การใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงกว้าง
การใช้ไหล่เป็นศูนย์กลางเพื่อร่างภาพในวงกว้างมากขึ้น
กระดูกสันหลังส่วนเอว ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อใหญ่ ในการวาดภาพใหญ่ๆ อย่างวาดบนกำแพง เฟรมใหญ่ๆเป็นต้น


เริ่มฝึก
1. ลากเส้นตรงโดยจับดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัสให้ใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลางโดยลีอคข้อมือไว้จะได้เส้นที่ตรง
2. ลากเส้น แนวเฉียงโดยจับดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัสให้ใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลางโดยลีอคข้อมือไว้จะได้เส้นที่ตรง
3. ลากเส้นแนวนอน โดยจับให้ดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัส โดยให้ขนานไปแนวเดียวกับเส้นจะได้เส้นที่ตรง เพราะดินสอได้ถูกประคองไว้ไม่ให้กระดุกกระดิกด้วยนิ้วทั้งห้าของเราแล้ว
4. ตวัดปลายดินสอบนกระดาษด้วยเส้นโค้งสลับกับเส้นที่หมุนวน จนเข้าใจในน้ำหนัก เน้นหนัก เบา ให้ได้อารมณ์ของเส้นเหมือนสายน้ำที่กำลังเลื่อนไหล อย่างไม่หยุดนิ่ง


จาก นั้นเราก็จะมาเริ่มฝึกการใช้จินตนาการในกรสร้างขนาดและสัดส่วนของภาพเพื่อ การที่เราจะสามารถวาดภาพจากต้นแบบได้โดยเข้าใจสัดส่วนและการย่อหรือขยายใน ขนาดของภาพ

มองเป็นเส้น
ไม่ใช่เด็กเส้น แต่เป็นการฝึกการมองภาพข้างหน้าเราแล้วใส่เส้นเข้าไปในภาพนั้น ว่าขนาดรูปร่างสั้นยาวแค่ไหน แบ่งครึ่ง แบ่งเป็นสามหรือสี่ส่วน ซึ่งในการฝึกฝนแบบนี้ต้องใช้จินตนาการเป็นสำคัญ คือให้มองให้เห็นเส้นในอากาศที่เราสร้างขึ้นมาเองจากนั้นก็ทดลองลากและกำหนดแบ่งเส้น เป็นระยะๆดูคร่าวๆ กำหนดด้วยตัวเอง ลากและกำหนดแบ่งเส้น เป็นระยะๆดูคร่าวๆ กำหนดด้วยตัวเอง


หาเป็นองศา
เพื่อความง่ายในการร่างภาพ ในการกำหนด ระยะ ขนาด รูปร่าง ระนาบ หรือพื้นที่ เช่น ของที่วางซ้อนกัน ถ้ามองเป็นองศาแล้วอยู่ประมาณกี่อาศา จากนั้นก็ลองนำไม้โปร มาวัดว่าที่เราเดาไว้ว่าจะแม่นหรือไม่แม่น

การลงน้ำหนัก
ใช้ดินสอ EE ตีกรอบ เพื่อฝึกการไล่น้ำหนัก 6 น้ำหนักจากนั้นก็แบ่งครึ่งในช่องน้ำหนักทั้ง 6 ไปเรื่อยๆจนสามารถกระจายน้ำหนักได้ละเอียดขึ้นเรื่อยๆการลงน้ำหนักนี้ก็เพื่อที่ว่าเราจะสามารถทำให้เกิด ความลึก ระยะ หรือมิติ เพราะตัวน้ำหนักนี้เอง สามารถทำให้เกิดภาพ 2 มิติ หรือ 3 มิติได้ ถ้าเราไม่รู้จักน้ำหนัก หรือไม่สามารถควบคุมน้ำหนักมือของเราได้ก็จะสามารถมิติพิศวงให้กับผู้ชมงานรวมทั่งตัวเราเองได้เหมือนกัน




ทีนี้ก็เริ่มร่างวงกลม 
ที่เราพยายามร่างมาตั้งแต่ครั้งแรก แต่คราวนี้เราจะเริ่มลงน้ำหนักวัตถุให้กลม โดยรู้จักค่าของแสง+เงาที่สำคัญคือต้องค่อยๆเพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆ อย่าพยายามทำครั้งเดียวให้เข้ม พยายามกระจายน้ำหนัก ให้ชัดเจนขึ้น จนกระทั่งเสร็จจากนั้นถึงทำการเน้นจุดที่เข้มที่สุดในภายหลัง

จากนั้นก็ฝึกๆๆๆๆ ฝึกจนชำนาญ ก่อนที่เราจะออกไปตะลุย Drawing ทุกอย่างที่ขวางหน้าต่อไป
ที่มา:http://drawing606.blogspot.com/p/blog-page.html