ร่างภาพคร่าว ๆ เกี่ยวกับพื้นฐานของเรื่องโดยทั่วไป
๑. จะให้เรื่องเกิดขึ้นที่ไหน
๒. จะเอาใครมาอยู่ในเรื่องบ้าง
๓. ตัวละครเหล่านั้นต้องการอะไร
๔. อะไรที่จะมาเป็นความขัดแย้ง
ขัดขวางความต้องการของเขา
๕.
พวกเขามีแผนที่จะจัดการกับสิ่งนั้นอย่างไร ?
๖. อะไรจะมาเป็น จุดหลัก
หรือเป็นเบ็ดเกี่ยว เป็นคำถามที่จะให้คนอ่าน
เกิดความสนใจ จนอยากรู้คำตอบให้เขาต้องการติดตามอ่านตลอดทั้งเรื่อง
เช่น ตัวละครจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ? ปัญหาจะถูกแก้ไขด้วยวิธีใด ?
๗.
เรื่องราวความหลังอะไรบ้างที่คุณจะแต่งเติมเรื่องของคุณ
๘.
คุณต้องการให้มีเหตุการณ์อะไรบ้างเข้ามาอยู่ในเรื่อง และจะสร้างมัน
ขึ้นมาได้อย่างไร
๙. อะไรคือ theme ที่คุณจะเขียนเกี่ยวกับมัน
๑๐. ฯลฯ
๒. สร้างตัวละครที่ทำให้คนอ่านสนใจ อยากรู้เรื่องของเขา
จะเขียนพล็อตรักให้เป็นที่ประทับใจ
คุณต้องสร้างตัวละครที่มีชีวิตขึ้นมาให้ได้
( อ่านการสร้างตัวละครเบื้องต้น
ที่นี่ )และในการเขียนพล็อตรักสิ่งที่คุณต้องเน้นเพิ่มเข้าไปในการสร้างบุคคลิกลักษณะ
ของตัวละครก็คือ
ทัศนะความรักของตัวละคร เขาคิดอย่างไร
?
เขาอาจจะ ไม่ศรัทธราในความรัก
ไม่อยากให้ใครมารัก ต้องการความรักอย่าง
มาก ความรักคือความหลอก ลวง
ความรักต้องซื่อสัตย์จริงใจ ( หากคิดไม่ออก
ก็ให้ไปหา อ่านทัศนะเกี่ยว กับความรัก
หรือพวกคำคมเกี่ยวกับความรักก็ได้
หรือจะ ไปอ่านเล่น ๆ ที่นี่ ก่อนก็ได้
)
ทัศนะนี้มันมีผลต่อการ
แสดงออกของเขาต่อตัวละครอื่นอย่างไร?
มันทำให้เขาหรือเธอก้าวร้าวต่อคนที่รัก
มันทำให้เขาหรือเธอช่างหวาดระแวง มันทำให้เขาหรือเจียมตัวไม่มั่นใจ ฯลฯ
เขาหรือเธอมีอารมณ์รัก
ที่แฝงไปด้วยอะไร ?
บางครั้งความรัก
มันไม่ใช่อารมณ์ที่อยู่ตามลำพัง
มันอาจจะแอบแฝงไปด้วยความรู้สึกอื่นที่แทรกซ้อนกันอยู่ อาจจะเป็นอารมณ์ที่
คล้อยตามกัน ทั้งรักทั้งหวงแหน
ทั้งรักทั้งชื่นชม อารมณ์ที่ขัดแย้งกัน ทั้งรักทั้ง
แค้น ทั้งรักทั้งเกลียด อารมณ์ความรู้สึกของตัวละครเป็นอย่างไร
ให้พยายามหาเหตุการณ์มาแสดงออกสนับสนุนให้คนอ่านให้มองเห็นความสับสน
ภายในจิตใจเขา
จะทำให้ตัวละครน่าสนใจมากขึ้น
๓. ความขัดแย้ง
อันเป็นปัญหาและอุปสรรคที่ต้องถูกทดสอบ
ความสำคัญของการเลือกปัญหาอุปสรรคให้กับตัวละคร
เป็นสิ่งที่สำคัญ จงเลือกให้มันเหมาะและสมเหตุสมผล เพราะการเลือกอันนี้
มันจะส่งผลไป
ถึง วิธีการแก้ปัญหา และ
เป็นการคัดเลือกตัวละครให้มาอยู่ในเรื่องด้วย
-
เตรียมสิ่งจะมาอุปสรรคของพวกเขาอาจเป็นได้ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นจากภาย
ใน ตัวละคร เอง เช่นความคิด ทัศนะคติ
อุปนิสัยของตัวละคร ฯลฯ หรือสิ่ง
ที่เกิด ขึ้น จากภายนอก เช่น
มือที่สาม ความแตกต่างทางสังคม เหตุการณ์ที่สร้างความเข้าใจผิด การแข่งขัน ฯลฯ
- ในความพยายามแก้ปัญหาของพวกเขา
ให้ลองใช้กฎ rule of three ( ใช้ได้กับทุกเรื่อง
) คือ ความพยายามสองครั้งแรกล้มเหลว ( อาจจะยิ่งทำให้แย่เข้าไปใหญ่)
ความสำเร็จให้อยู่ในครั้งที่สาม
-
เลือกตัวละครเข้ามาในเรื่องให้เหมาะกับปัญหา เช่น ปัญหาคือความแตกต่างทางฐานะ
ตัวละครที่เข้ามามีส่วนสำคัญต่อตัวละครเอก อาจจะเป็นพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ ถ้าปัญหาคือการแข่งขันเรื่องการทำงาน
ตัวละครแวดล้อมก็น่าจะเป็นเพื่อน หรือเจ้านาย หรือทีมงาน
-
ให้คัดเลือกเอาตัวละครที่จะมาเป็นตัวอุปสรรค และเป็นตัวคอยสนับสนุน
ความรักของพระเอกนางเอกด้วย
๔. สร้างฉากเหตุการณ์ (
scenes )
เตรียมเอาไว้เลยนะว่า คุณจะให้เหตุการณ์
ใด หรือ ฉาก ใด เป็นช็อตเด็ดใน
เรื่อง
ที่คนอ่านไม่เบื่อที่จะเปิดอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่า เช่น
-
ฉากแสดงออกถึงความรู้สึกอันลึกซึ้งของตัวละครที่มีต่อกัน ห่วงใยกัน
แคร์ซึ่งกันและกัน
- ฉากที่ทำให้พวกเขาแตกแยกกัน
เข้าใจผิดซึ่งกันและกัน
- ฉากที่แสดงความปวดร้าว ความขมขื่น
-
ฉากที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามดิ้นรนไปให้พ้นจากปัญหาที่เกิดขึ้น
- ฯลฯ
๕.
โครงสร้างของพล็อตรักโดยทั่วไป
ไม่ว่าพล็อตเรื่องของคุณจะเป็นเรื่องราวความรักแบบไหนมันจะแบ่งเป็นสามส่วน
หลัก ๆ คือ
๑. ตัวละครพบกันรักกัน ( หรือเริ่มจะรักกัน
)
๒. ตัวละครต้องพลัดพรากจากกัน (
ห่างกันทางกายด้วยอุปสรรคอย่างใด
อย่างหนึ่ง หรือ
ทางจิตใจเช่นเข้าใจผิดกันอย่างยิ่งใหญ่จนเกิด เป็นรอย ร้าวไม่เข้าใจกัน )
๓. ตัวละครกลับมาหากัน (
การเดินทางกลับมาหากัน การค้นพบความจริง มีความเข้าใจกัน การเริ่มต้นใหม่ ฯลฯ
ซึงก็แล้วแต่คนเขียนนะว่า เมื่อถึงจุดนี้แล้ว
จะจบโดยให้พวกเขาอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข หรือตายจากกันไม่ก็แยก ทางกัน
ด้วยความรักความเข้าใจและอาลัยอย่างสุดซึ้ง จนน้ำตาไหลพราก )
แม้ว่าโครงสร้างโดยมากจะเป็นแบบนี้
มันก็ไม่จำเป็นว่า
คุณจะเริ่มเรื่อง ด้วยหมายเลขหนึ่งนะ
ที่มา:www.forwriter.com/mysite/forwriter.com/forwriterroom/.../writeloveplot.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น