วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

Drawing

ก่อนจะวาดรูปใดๆให้ได้ดั่งใจปรารถนานั้นควรฝึกพื้นฐานเหล่านี้ก่อนแล้วค่อยวาด ฝึกให้ชำนาญจนสามารถควบคุมมือให้ลากเส้นได้ ลากจนเส้นตรงให้ตรง เฉียงให้เฉียง กลมก็ต้องให้กลมจริงๆ ก่อนที่จะวาดภาพต่อไป
ถ้าไม่ฝึกพื้นฐานแบบนี้ก่อน อาจทำให้เราหงุดหงิด หงุนหง่าน จนงอแง เมื่อเราไม่สามารถบังคับเส้น หรือกล้ามเนื้อมือให้ได้ดั่งใจได้ปรารถนา
เวลาจะลากเส้นตรงดันเบี้ยวเป็นรูปหนอนหนีตายจะหมุนให้กลมเหมือนแสกปั้น กลายเป็นรูปก้อนดินเหนียวร่วงพื้นบิดไปมา หรือการพึ่งพาแต่การดราฟจนทำให้ไม่สามารถออกไปสเก็ตภาพที่ไหนได้จะวาดภาพ land scape, sea scape, potrait ที เกร็งจนข้อมือติดขัดเหมือนคอมพิวเตอร์โดนไวรัสร่างกายคล้ายๆถูกสะกดให้นิ่ง อยู่กับที่เหมือนผีจีนที่โดนยันต์แปะหน้าผากให้ยืนสงบอยู่ตรงหน้ากระดาษหรือ ผืนผ้าใบโดยไม่กล้าทำอะไร
ในที่สุดเราก็จะเลือกล้มความตั้งใจไปโดยอัตโนมัติ กลายเป็นโดนยึดความมั่นใจไปเหมือนกับการโดนเครื่องกดเงินยึดบัตร เพราะขาดความอดทนกับเราที่ไม่ยอมจำรหัสให้ดี
อุปกรณ์ง่ายๆ ไม่กี่อย่างที่ต้องเตรียม 
สำหรับการฝึกมือเพื่อเตรียมตัวสร้างผลงานช็อคโลกในอนาคต
1. ดินสอ EE+คัดเตอร์
2. กระดาษบรูฟ+กระดานสเกต
3. ยางลบ ที่พกมาไว้เพื่อความมั่นใจเหมือนกับการสวมพระไว้กันผี
4. ใจ แบบไม่ต้องเอาปอดมาด้วย

                เมื่อเตรียมของเสร็จ ก่อนที่ท่านจะจับดินสอเพื่อเริ่มภาระกิจการวาดภาพเพื่อยกระดับจิตวิญญาณของมวลมนุษย์แล้ว
ควรบริหารมือก่อน เหมือนเป็นการอุ่นเครื่องหรือการหยอดน้ำมันให้ลื่นไหล ทั้งกายและใจ



สลัดๆๆๆ พัดโบกมือไปมา โบกให้พริ้วไหวประดุจใบไม้ที่ปลิวไปตามลม
เสมือนจอมยุทธน้อยที่กำลังจะตะลุยโลดแล่นออกสู่โลกกว้าง ด้วยการบิดขี้เกียจให้เต็มที่ หมุนที่ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อแขน หัวไหล่ บริเวณเอวตรงกล้ามเนื้อใหญ่ที่หลายๆท่านใช้ในการหมุนเพื่อกำหนดวงสวิงเวลาเล่นกอล์ฟ

มาถึงการจับดินสอ


             มีการจับอยู่หลากหลายตามความถนัดแต่ที่อยากแนะนำให้ลองฝึกเพื่อความคล่องตัวและสะดวกในการใช้งาน คงมีอยู่ 4 อย่างด้วยกัน
1. จับแบบเขียนหนังสือ 
   - ใช้สำหรับการเก็บรายละเอียดของงานในพื้นที่เล็ก แคบ
   - วิธีการจับแบบนี้จะใช้ข้อนิ้วในการควบคุมดินสอ เหมือนการเขียนตัวอักษร
   - เป็นการใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบ หากใช้พื้นที่กว้างขึ้นก็เริ่มใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง 
2. จับจับแบบหลวม ใช้สำหรับร่างภาพ ต้องการสะบัดข้อมือแบบสบายๆ
3. จับแบบใช้ทุกนิ้วสัมผัส เพื่อประคองดินสอให้เป็นแนวเส้นตรงสำหรับการลากเส้นแนวดิ่ง ขวาง หรือเฉียง
4. จับแบบคว่ำมือ ใช้สำหรับการกำหนดเส้นร่างแบบคร่าวๆ และให้เบาบางที่สุด

ได้โปรด กรุณาอย่าใช้นิ้วใดนิ้วประหนึ่งล๊อกดินสอ
พยายามจับให้ดินสอเป็นอิสระมากที่สุดโดยนิ้วแค่เป็นตัว ประคองดินสอไว้ให้เหมือนกับว่าดินสอนั้นเป็นส่วนหนึ่งในมือของเราที่จะ บังคับให้ปลายดินสอนั้นไปทางไหนก็ได้ตามใจปรารถนาเหมือนกับเวลาใช้นิ้วก้อย แคะขี้มูก


อีกนิดครับสำหรับการเหลาดินสอ EE อยากให้ใช้คัดเตอร์เหลาให้ไส้ดินสอออกมายาวๆหน่อย เพื่อความสะดวกกับองศาของเนื้อไม้กับไส้ดินสอเวลาวาด และที่สำคัญ อย่าทำหล่นเด็ดขาด เพราะนั้นหมายถึงไส้ดินสอจะหักข้างใน เพราะไส้เปราะมาก

ตอนนี้จะแนะนำจุดศูนย์กลางของแต่ละส่วนในการหมุนตวัดปลายดินสอให้ฉวัดเฉวียน แต่ไม่เวียนหัวถ้าทำได้

การใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบสำหรับเก็บรายละเอียด
การใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงแคบ
การใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงกว้าง
การใช้ไหล่เป็นศูนย์กลางเพื่อร่างภาพในวงกว้างมากขึ้น
กระดูกสันหลังส่วนเอว ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อใหญ่ ในการวาดภาพใหญ่ๆ อย่างวาดบนกำแพง เฟรมใหญ่ๆเป็นต้น

อีกนิดครับสำหรับการเหลาดินสอ EE อยากให้ใช้คัดเตอร์เหลาให้ไส้ดินสอออกมายาวๆหน่อย เพื่อความสะดวกกับองศาของเนื้อไม้กับไส้ดินสอเวลาวาด และที่สำคัญ อย่าทำหล่นเด็ดขาด เพราะนั้นหมายถึงไส้ดินสอจะหักข้างใน เพราะไส้เปราะมาก

ตอนนี้จะแนะนำจุดศูนย์กลางของแต่ละส่วนในการหมุนตวัดปลายดินสอให้ฉวัดเฉวียน แต่ไม่เวียนหัวถ้าทำได้

การใช้กล้ามเนื้อเล็กของข้อนิ้วในการควบคุมพื้นที่แคบสำหรับเก็บรายละเอียด
การใช้ข้อมือเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงแคบ
การใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลาง เพื่อร่างภาพในวงกว้าง
การใช้ไหล่เป็นศูนย์กลางเพื่อร่างภาพในวงกว้างมากขึ้น
กระดูกสันหลังส่วนเอว ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อใหญ่ ในการวาดภาพใหญ่ๆ อย่างวาดบนกำแพง เฟรมใหญ่ๆเป็นต้น


เริ่มฝึก
1. ลากเส้นตรงโดยจับดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัสให้ใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลางโดยลีอคข้อมือไว้จะได้เส้นที่ตรง
2. ลากเส้น แนวเฉียงโดยจับดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัสให้ใช้ข้อศอกเป็นศูนย์กลางโดยลีอคข้อมือไว้จะได้เส้นที่ตรง
3. ลากเส้นแนวนอน โดยจับให้ดินสอแบบคว่ำใช้ทุกนิ้วสัมผัส โดยให้ขนานไปแนวเดียวกับเส้นจะได้เส้นที่ตรง เพราะดินสอได้ถูกประคองไว้ไม่ให้กระดุกกระดิกด้วยนิ้วทั้งห้าของเราแล้ว
4. ตวัดปลายดินสอบนกระดาษด้วยเส้นโค้งสลับกับเส้นที่หมุนวน จนเข้าใจในน้ำหนัก เน้นหนัก เบา ให้ได้อารมณ์ของเส้นเหมือนสายน้ำที่กำลังเลื่อนไหล อย่างไม่หยุดนิ่ง


จาก นั้นเราก็จะมาเริ่มฝึกการใช้จินตนาการในกรสร้างขนาดและสัดส่วนของภาพเพื่อ การที่เราจะสามารถวาดภาพจากต้นแบบได้โดยเข้าใจสัดส่วนและการย่อหรือขยายใน ขนาดของภาพ

มองเป็นเส้น
ไม่ใช่เด็กเส้น แต่เป็นการฝึกการมองภาพข้างหน้าเราแล้วใส่เส้นเข้าไปในภาพนั้น ว่าขนาดรูปร่างสั้นยาวแค่ไหน แบ่งครึ่ง แบ่งเป็นสามหรือสี่ส่วน ซึ่งในการฝึกฝนแบบนี้ต้องใช้จินตนาการเป็นสำคัญ คือให้มองให้เห็นเส้นในอากาศที่เราสร้างขึ้นมาเองจากนั้นก็ทดลองลากและกำหนดแบ่งเส้น เป็นระยะๆดูคร่าวๆ กำหนดด้วยตัวเอง ลากและกำหนดแบ่งเส้น เป็นระยะๆดูคร่าวๆ กำหนดด้วยตัวเอง


หาเป็นองศา
เพื่อความง่ายในการร่างภาพ ในการกำหนด ระยะ ขนาด รูปร่าง ระนาบ หรือพื้นที่ เช่น ของที่วางซ้อนกัน ถ้ามองเป็นองศาแล้วอยู่ประมาณกี่อาศา จากนั้นก็ลองนำไม้โปร มาวัดว่าที่เราเดาไว้ว่าจะแม่นหรือไม่แม่น

การลงน้ำหนัก
ใช้ดินสอ EE ตีกรอบ เพื่อฝึกการไล่น้ำหนัก 6 น้ำหนักจากนั้นก็แบ่งครึ่งในช่องน้ำหนักทั้ง 6 ไปเรื่อยๆจนสามารถกระจายน้ำหนักได้ละเอียดขึ้นเรื่อยๆการลงน้ำหนักนี้ก็เพื่อที่ว่าเราจะสามารถทำให้เกิด ความลึก ระยะ หรือมิติ เพราะตัวน้ำหนักนี้เอง สามารถทำให้เกิดภาพ 2 มิติ หรือ 3 มิติได้ ถ้าเราไม่รู้จักน้ำหนัก หรือไม่สามารถควบคุมน้ำหนักมือของเราได้ก็จะสามารถมิติพิศวงให้กับผู้ชมงานรวมทั่งตัวเราเองได้เหมือนกัน




ทีนี้ก็เริ่มร่างวงกลม 
ที่เราพยายามร่างมาตั้งแต่ครั้งแรก แต่คราวนี้เราจะเริ่มลงน้ำหนักวัตถุให้กลม โดยรู้จักค่าของแสง+เงาที่สำคัญคือต้องค่อยๆเพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆ อย่าพยายามทำครั้งเดียวให้เข้ม พยายามกระจายน้ำหนัก ให้ชัดเจนขึ้น จนกระทั่งเสร็จจากนั้นถึงทำการเน้นจุดที่เข้มที่สุดในภายหลัง

จากนั้นก็ฝึกๆๆๆๆ ฝึกจนชำนาญ ก่อนที่เราจะออกไปตะลุย Drawing ทุกอย่างที่ขวางหน้าต่อไป
ที่มา:http://drawing606.blogspot.com/p/blog-page.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น